กมธ.ประชามติ ทบทวนใช้เสียง 5 หมื่นคน เสนอทำประชามติ แทนหมื่นชื่อ

นายวันชัย สอนศิริ ส.ว. ฐานะ โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วการออกเสียงประชามติ   พ.ศ…​รัฐสภา แถลงถึงผลการพิจารณา เนื้อหา ว่า ที่ประชุมกมธ. ได้ลงมติต่อประเด็นการกำหนดจำนวน ประชาชน ที่เสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ออกเสียงประชามติ จากเดิมที่ประชุมเห็นว่า ควรใช้เกณฑ์ 10,000 คน แต่ล่าสุดมติข้างมากเห็นชอบให้ปรับเป็น 50,000 คน เนื่องจากเห็นว่า จำนวน 10,000 คนนั้นเป็นเพียงการริเริ่มขั้นต้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามเมื่อประชาชนเสนอแล้ว  ตามเนื้อหากำหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้ตรวจสอบรายละเอียด โดยขั้นตอนการตรวจสอบ เช่น คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามของผู้เสนอนั้นจะเป็นไปตามระเบียบที่ กกต. กำหนดอีกครั้ง 

นายวันชัย กล่าวด้วยว่า ในการพิจารณาเรื่องที่รัฐสภา และประชาชน เสนอให้ทำประชามติ นั้นตามกฎหมาย ระบุว่าให้ยึดมาตรา 166 โดยมีหลักเกณฑ์สำคัญ คือ กรณีมีเหตุอันสมควร ครม. จะขอให้ออกเสียงประชามติในเรื่องใดที่ไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญได้ ทั้งนี้ครม.​ถือมีสิทธิใช้ดุลยพินิจที่จะดำเนินการหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงงบประมาณ และเหตุแห่งความจำเป็น

“บรรยากาศการประชุมเป็นไปด้วยดี และเชื่อมั่นว่าการพิจารณาเนื้อหาของรัฐสภา วันที่ 7 เมษายน นั้นจะผ่านพ้นไปด้วยดี อีกทั้งเชื่อว่าจะไม่มีเหตุให้กฎหมายสะดุดในชั้นวาระสามหรือวาระหลังจากนั้น” ​นายวันชัย กล่าว

เมื่อถามว่าการให้สิทธิขาดกับครม. พิจารณาเรื่องที่ต้องทำประชามติ อาจเปิดช่องให้มีการเตะถ่วงได้ นายวันชัย กล่าวว่า “แล้วแต่ เพราะอำนาจการกำหนดให้ออกเสียงประชามติเป็นของครม. ซึ่งครม.ต้องใช้ความรอบคอบ เพราะเกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณ”

แสดงความเห็น