ส.ส.สุโขทัย หนุนร่าง พ.ร.บ.งบฯ 63 ชี้จัดสรรงบให้ ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนา

นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ  ส.ส.สุโขทัย พรรคพลังประชารัฐ อภิปรายว่า การนำเสนอร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ พ.ศ.2563 เสนอและแสดงความเห็นประเด็นงบประมาณ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)  3 ประการ คือ นโยบายและแนวางการจัดทำงบประมาณ // กรอบงบประมาณของอปท. และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และ ฐานะที่หน่วยรับงบประมาณของ อปท. โดยประการแรก นโยบายและแนวดำเนินการเห็นรัฐบาลรัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แสดงเจตนารมณ์และสะท้อนในการจัดสรรงบประมาณอย่งทั่วถึง และเป็นธรรม ภายใต้กรอบงบประมาณ ของหน่วยงบประมาณ ยศ. สนองนโยบายการปฏิรูปประเทศ สิ่งสำคัญ​อปท. คำแถลงประกอบงบประมาณรายจ่าย คือสัญญา ฐานะ ส.ส. ช่วยกำกับติดตามและประเมินประสิทธิผลที่เกิดจากการใช้งบประมาณนี่คือความจริงใจที่ชัดเจน, 2. อปท. ระบุว่าการจัดสรรงบประมาณมุ่งเน้นเสริมศักยภาพทางการคลัง ลดความเหลื่อมล้ำทางการคลัง เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ และสำคัญยิ่งคือดำเนินการเพื่อให้มีประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณ คิดว่าเป็นสัญญาที่จะได้กำกับติดตามและประเมินในบทบาทที่เหมาะสม , กรอบงบประมาณ รัฐบาลแสดงความจริงใจในงบ อปท. เชื่อมั่นและชัดเจน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี ร้อยละ 29.5 ไม่มีเฉพาะสมัยปัจจุบันมีมานานแล้ว ภายใต้ขีดจำกัดการกีดกันทางการค้า หรือเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญที่ตรึงให้ไว้ไม่น้อยกว่าเดิม โดยงบประมาณท่ีจัดสรร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา คือ ร้อยละ 7.1 คือ 8.4 แสนล้านบาท ส่วนการจัดภาษีให้ อปท. จัดสรรให้ก่อนก่อนรายได้สุทธิของงบประมาณ  คือ ให้กับอบจ.​ทั่วประเทศ 1.9 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 7.1 ให้ อปท. ภาพรวม 1.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 คิดว่านี่คือความจริงใจและจริงจังที่แสดงตัวเลขที่ชัดเจน  

สำหรับการจัดสรรงบอุดหนุน ได้จัดไว้ ในกรอบงบประมาณที่ลงไปในหน่วยงบประมาณ 33 รายการ รายการงบประมาณที่ 15 ของกระทรวงมหาดไทย อุดหนุนไปยัง อบต.​และเทศบาล จำนวน 2.5 แสนล้านบาท โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็นหน่วยงบประมาณ ส่วน กรุงเทพ มีงบประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาท เป็นการรับงบประมาณจากสำนักงบประมาณโดยตรง ซึ่งเป็นวิธีบริหารงบประมาณรูปแบบใหม่ คือการเรียนรู้อีกขั้นตอนที่ อปท. จะประสานกับสำนักงบประมาณโดยตรงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ แต่ในระยะเริ่มต้นต้องอาศัยการเรียนรู้ ทั้งนี้งบ อปท. จำนวนไม่น้อยที่ระบุ ในแผนงบประมาณรูปแบบพิเศษ 15 แผนงาน ในแผนงานที่ 12  ระบุถึงบูรณาการพื้นที่ระดับภาค มีงบประมาณ 1.5 พันล้านบาท ถือว่ารัฐบาลแสดงตัวเลขด้วยความจริงจังและจริงใจ

นางพรรณศิริ กล่าวด้วยว่า และ 3. ข้อสังเกตฐานะหน่วยรับงบประมาณ เพราะเคยดำรงตำแหน่ง นายกอบจ. รวมทั้งการบริหารงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ระบุถึงอำนาจและหน้าที่ของ​ อบจ. ใน 29 ประการ มุ่งเน้นสิ่งสำคัญ​คือ การจัดการศึกษาที่ระบุไว้ในการบูรณาการเชิงพื้นที่ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต จะเกิดขึ้น ขณะนี้ติดตาม นายณัฎฐพล  ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาใน-นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ส่งเสริมดิจิทัล เพื่อชุมชนและมุ่งเน้นรัฐบาลจัดสรรงบประมาณไม่น้อย ส่วนของสาธารณสุข เป็นภาระสำคัญของ อปท.​มีระเบียบอุดหนุนต่อไปยังหน่วยงานอื่นๆ คือ ร้อยละ 10 สามารถทำได้เพื่อการการสาธารณสุข  ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส เพื่อบูรณาการการทำงานในพื้นที่ ทั้งนี้ปี 2554 ตนดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการ มีนโยบายและปรับเปลี่ยนให้เกิดรพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล จากเดิมเป็นสถานีอนามัย 

“ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเชิงพื้นที่ โดยมี อสม.​ขับเคลื่อนเชิงพื้นที่  ซึ่งก่อนหน้านี้เคยตั้งข้อสังเกตว่าการตั้งงบประมาณเพื่ออสม. ทำไมไม่ตั้งไว้ที่กระทรวงสาธารณสุข  แต่ไม่สนใจคำตอบ เพราะมองว่างบประมาณแผ่นดิน ไม่ว่าอยู่ตรงไหน เงินของอสม. ที่อยู่กับ อปท. เพราะการศึกษาและสุขภาวะอยู่ในชีวิตคนทุกคน เมื่อดิฉันเป็นนายก อบจ.​โอนเงินให้กับ สธ.จังหวัด งบจะอยู่ตรงไหนก็ได้ เพื่อให้การบูรณาการงานทำได้เต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้หลายภารกิจ ที่จะเกิดขึ้นได้จากการบูรณาการในพื้นที่ มั่นใจว่า งบประมาณที่ได้รับจัดสรรในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 จะใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนประเทศ สมควรได้รับความเห็นชอบ และในทุกขั้นตอน ส.ส. คือผู้ตรวจสอบ กำกับและติดตามการใช้งบประมาณต่อไป” นางพรรณสิริ กล่าว

แสดงความเห็น