

ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯจัดงานเวทีเครือข่ายประชาชิปไตยทางเศรษฐกิจ และข้อเสนอภาคประชาชน โดยกติกาประมูลคลื่นความถี่จาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทสช.) ยังอยู่ในกระบวนการจัดทำ แต่ว่าไม่มีหลักประกันอะไรว่าการแข่งขันครั้งนี้ จะเอื้อให้เกิดการแข่งขันอย่างแท้จริง รวมถึงจะเปิดโอกาสให้ผู้เล่นหน้าใหม่หรือรายเล็กเข้าสู่ตลาด จึงได้มีการสร้างความรับรู้ผ่านเวทีเสวนา ภายใต้หัวข้อ กสทช. กับการประมูลคลื่นความถี่ และผลประโยชน์ประชาชน โดยสภาองค์กรของผู้บริโภค
ด้านนาย อิฐบูรณ์ อ้นวงษา รองเลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าวว่า เราพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับการเปิดประมูลคลื่นความถี่ของ กสทช. ที่กำลังมีการดำเนินการอยู่ในขณะนี้และก็มีประชาชนน้อยมากที่จะรับรู้เรื่องนี้ทั้งๆที่เป็นเรื่องใกล้ตัว โดยตนเชื่อว่าทุกคนจะมีโทรศัพท์มือถือในมือและจะมีการแบ่งเป็นสองเจ้ารายใหญ่ที่ใช้กัน ซึ่งสภาพการตลาดตอนนี้ตลาดค้าปลีกของโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีผู้ใช้ที่จดทะเบียนกับซิม 116 ล้านเลขหมาย ซึ่งมองว่าตัวเลขยังทรงตัวแต่จะมีแนวโน้มลดลงมาตามลำดับซึ่งหมายถึงว่ามีจุดอิ่มตัวของมันอยู่แต่ในขณะที่ฐานรายได้ของผู้ประกอบการกับเพิ่มขึ้น เพราะตอนนี้เริ่มเป็นการสื่อสารออนไลน์ในรูปแบบต่างๆเพิ่มมากขึ้น โดยเครือข่ายใหญ่ๆ ตอนนี้จะเหลือประมาณ 2 เครือข่ายใหญ่ๆ สำหรับของ บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ(จำกัด) มีฐานตลาดอยู่ที่ 2.66% และในเรื่องของฐานลูกค้าและทิศทางของธุรกิจที่มีอนาคตสดใสข้างหน้าก็จะเห็นได้ว่ามีคู่ชกที่สูสีกันอยู่แค่ 2 เครือข่าย พร้อมตั้งคำถามว่า NT หากินอย่างไร ในฐานะรัฐวิสาหกิจ จนเหลือพื้นที่ที่ไม่สามารถรักษาอำนาจต่อรองในทางการตลาดได้เลยในปัจจุบัน มองว่าสภาพการตลาดของสัดส่วนดังกล่าว โดยมองว่าเมื่อเหลือเครือข่ายหลักแค่สองรายทำให้สิทธิ์ของผู้บริโภคและมีอิสระในการเลือกซื้อหรือบริการน้อยลง
นายอิฐบูรณ์ กล่าวต่อว่า การประมูลที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือมีการเปิดประมูลคลื่นความถี่คือคลื่น 850 MHz 1500 MHz 2100 MHz และ 2300 MHz ซึ่งทั้ง 4 คลื่นเดิมอยู่ภายใต้การครอบครองใบอนุญาตของ NT ทั้งหมด ซึ่งกำลังสิ้นสุดใบอนุญาตในวันที่ 3 สิงหาคมนี้ จึงต้องเร่งรีบดำเนินการเพื่อที่จะให้การประกอบการเป็นไปอย่างเรียบร้อย ประเด็นคือคลื่นต่างๆเหล่านั้น NT ได้ใช้ประโยชน์จากคลื่นดังกล่าวมากน้อยแค่ไหน แต่ที่ตนทราบมาคลื่น 2100 MHz NT ได้มีการให้ให้เอกชนเช่าใช้

“ส่วน NT ก็อยู่ ในตำแหน่งที่เขามอบหมายเดิมคือ เป็นเสือนอนกินคอยเก็บคอยกินค่าเช่า ไม่ต้องประกอบการอะไรอย่างนี้คล่องตัวกว่าและมีรายได้เข้ารัฐและดูแลผลประกอบการ พร้อมมองว่าตรงนี้เป็นเหตุผลหรือไม่ที่ผลประกอบการสัดส่วนการตลาดของ NT เหลือไม่ถึง 3%”
ด้านนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาผู้บริโภค และอดีต กสทช. มองว่า NT หายไปจากสมการคมนาคมภายในเวลาแค่ 3-4ปี และมองว่าเป็นการพัฒนาที่มันถอยหลัง นอกจากนั้นยังไม่มีรายใหม่แต่กลับเป็นรายเดิมที่ยังควบรวมกัน มองว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่ เพราะว่าเอกชนก็คือเอกชน
โดยในเรื่องของคลื่น 2300 MHz ที่ถูกตั้งราคา โดยไม่มีหลักเกณฑ์อะไรเลย มองเรื่องนี้อย่างไรนั้น นางสาวสุภิญญา ระบุว่า จริงๆ ก็เป็นการทำประมูลปกติแต่ที่พวกเราติดใจคือการประมูลในลักษณะนี้มันไม่เอื้อให้ NT สามารถเข้าประมูลได้ เพราะเป็นการแข่งขันในระดับเดียวกันกับรายใหญ่อีกสองรายโดยเท่ากับว่า NT เป็นรายเล็กสัดส่วนตลาดน้อยกว่า 5% ซึ่งจริงๆแล้วมองว่าต้องมีการประมูลแบบทีละครั้งมากกว่า เช่น ให้สิทธิรายเล็กและรายใหญ่แยกกัน

ทั้งนี้ต้องมีการหารือกับรัฐบาลเพื่อหาทางออกให้กับ NT ด้วยเพราะถ้ารากไปในรูปแบบนี้แม้ว่าจะมีการจัดประมูลและทั้งสองรายใหญ่ได้ขึ้นไปแล้วสุดท้าย NT ก็ไม่มีที่ยืน ฉะนั้นเราก็จะไม่มีหลักประกันให้กับผู้บริโภคว่าราคาจะถูกลงเพราะว่าเกิดการแข่งขันโดยสมบูรณ์ ซึ่งควรจะมีหลักประกันในเรื่องของการลดราคาให้กับผู้ใช้บริการ เช่นอาจจะต้องมีการเขียนในใบอนุญาตว่าค่าบริการต้องไม่เกินเท่าไหร่ ไม่ใช่ปล่อยให้เอกชนเป็นคนกำหนดเองเพราะเห็นอยู่แล้วว่าหลักการควบคุมและเรื่องของกิจการโทรคมนาคมสูงขึ้น มองว่าถ้ามี 4 ราย จากในตลาดก็จะไม่เป็นไร แต่ตอนนี้เหลือ 2 รายโดยสมบูรณ์ ซึ่งเป็นเอกชน 100% ต้องคำนึงถึงความมั่นคง ความปลอดภัย การสื่อสารภายในประเทศด้วย มองว่าควรต้องมีเครือข่ายของรัฐที่บริการตรงนี้และควรมีทางเลือกได้มากกว่านี้โดยเฉพาะNT
โจทย์ของเราคือทำอย่างไรให้ทาง กสทช.-รัฐบาล ออกแบบการจัดสรรคลื่นให้มี 3 คลื่น และ NT ยัง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของภาครัฐหรือผู้บริโภค และมองว่าตอนนี้กสทช. ยังไม่ตอบโจทย์ว่าใครได้ประโยชน์กันแน่ มองว่าผู้บริโภคไม่มีหลักประกันเลยแต่เอกชนได้ราคาที่ไม่แพง ส่วนในเรื่องของเป้าหมายของสภาองค์กรต้องการให้การประมูลครั้งนี้มีการทบทวนเงื่อนไขการประมูลและทบทวนทิศทางภาพรวมของการบริหารจัดการคลื่นความถี่ ที่มีเงื่อนไขการคุ้มครองผู้บริโภคและมีหลักประกันในเรื่องของทางเลือกตลาดให้มากกว่านี้ ไม่ใช่ที่จะต้องพึ่งพาเอกชนแค่สองรายหลักอย่างเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการอยากให้กสทช.และรัฐบาล คุยกันว่าทางออกควรจะเป็นอย่างไร
ด้านนายเชิดชัย กัลยาวุฒิพงษ์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ ระบุว่า ในส่วนของ NT จริงๆเราเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมของประเทศและมีโครงสร้างพื้นฐาน โครงข่ายดิจิตอลทั่วประเทศ ในส่วนของธุรกิจที่เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ถึงแม้ตอนนี้เราจะเป็นผู้เล่นในตลาดอันน้อย แต่เราก็ยังเป็นทางเลือกให้กับประชาชนได้ และรายได้หลักเราไม่ได้มาจากมือถืออย่างเดียว เพราะเรามีรายได้หลักจากธุรกิจอย่างอื่นที่อยู่ภายใต้ NT เพราะฉะนั้นถ้าหากหมดใบอนุญาตแล้วจะกระทบกับรายได้ส่วนหนึ่งของ NT ทำให้ในระยะแรกได้รับผลกระทบเยอะแต่เมื่อเวลาผ่านไปเราจะปรับตัวและหารายได้จากธุรกิจอื่นๆมาทดแทนในธุรกิจในส่วนของโทรศัพท์มือถือ
ถามย้ำว่าจากผลประกอบการ หลายปีที่ผ่านมา ที่ลดน้อยลงทุกปี นี่คือสัญญาณที่สื่อถึงการบริหารงานหรือไม่ นายเชิดชัย ระบุว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากการบริหารงานที่ไม่เพอร์ฟอร์มเนื่องจากว่าเป็นการควบรวมขององค์กรสององค์กรซึ่งจริงๆเรามีสินทรัพย์ที่พร้อมที่จะผลิตเม็ดเงินแต่อยู่ที่ว่านโยบายของผู้บริหารจะสามารถนำเอาทรัพย์สินที่เรามีไปผลิตเม็ดเงินหรือผลิตโปรดักส์ให้เกิดขึ้นและหล่อเลี้ยง NT ได้มากแค่ไหน
อย่างไรก็ตามในฐานะตัวแทน NT อยากให้ มีการบริหารในอนาคตในรูปแบบใดนั้น นายเชิดชัย ระบุว่า สิ่งหนึ่งคือในเรื่องของความโปร่งใสต้องเกิดขึ้นในเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้างและต้นทุนในการบริการต้องถูกลง เพราะที่ผ่านมาการจัดซื้อจัดจ้างตัวอุปกรณ์ที่จะประกอบในการที่จะไปสร้างผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าค่อนข้างที่จะราคาสูงเมื่อเทียบกับเอกชน เพราะเราต้องปรับตัวตรงนี้และในส่วนหนึ่งคือพนักงานพร้อมที่จะทำงานและร่วมมือทำงานอย่างเต็มที่เต็มความสามารถ NT ไปได้และอยู่ได้
ทั้งนี้กระแสที่บอกว่า NT เป็นเสือนอนกินจากคลื่น 2100 MHz กับ 2300MHz แล้ว NT เอาเงินนั้นไปทำอะไร ทำไมไม่เก็บมาใช้ประมูลคลื่นชุดนี้ ทั้งที่รู้ว่าวันนี้ต้องมาถึง นายเชิดชัย ระบุว่า ต้องบอกว่า NT เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเพราะฉะนั้นการจะลงทุนหรือจะทำธุรกิจอะไรที่มีมูลค่าสูงต้องมีการอนุมัติโดยรัฐบาล และการตัดสินใจดำเนินการธุรกิจอะไรก็แล้วแต่ ไม่ใช่ว่าทาง NT เป็นผู้ตัดสินใจเพียงฝ่ายเดียว เพราะต้องเสนอไปยังหน่วยงานต่างๆ เช่น สภาพัฒน์ และเข้าครม.อีกทั้งต้องผ่านการเห็นชอบจากกระทรวงต่างๆ พร้อมย้ำว่าเราเป็นรัฐวิสาหกิจทำให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเรายังสู้เอกชนไม่ได้ ซึ่งเราเป็นบริษัทจำกัดมหาชนก็จริงแต่ว่าการดำเนินการต่างๆยังเป็นของรัฐอยู่
แสดงความเห็น
