“สมศักดิ์” ชงรุกหนักยึดทรัพย์ผู้ค้ายาเสพติด เพิ่มตัวชี้วัด 6,000 คดีต่อปี เชื่อปัญหาคลี่คลาย รัฐไม่ต้องเสียงบประมาณเพิ่มเตียงบำบัด ขณะที่ “วันนอร์” ร่วมแจม แนะตั้งเคพีไอ 6 เดือนปัญหาต้องลดลง วอนทุกฝ่ายร่วมบูรณาการ-สงสารชาวบ้านลูกติดยาเหมือนตกนรกทั้งเป็น
ที่รัฐสภา ในการประสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ทำหน้าที่ประธานการประชุม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตอบกระทู้ถามสดด้วยวาจาของ นายภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ สส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ขอให้แก้ปัญหาศูนย์บําบัดยาเสพติดไม่เพียงพอต่อการรักษาว่า ศักยภาพรองรับผู้ป่วยของกระทรวงสาธารสุข สามารถองรับผู้ป่วยมีจำนวน 10,568 เตียง มีผู้เข้ารับการบำบัด จำนวน 6000 ราย คิดเป็นผู้รับการบำบัด 60% ยังมีเตียงว่างอยู่ 4681 เตียง จำนวนผู้ป่วยที่มีความหนาแน่นมากๆ โดยเฉพาะโคราช เพิ่มอีก 30 เตียง สุรินทร์เพิ่มอีก 10 เตียง กาฬสินธุ์เพิ่มอีก 10 เตียง มีการขยายเตียงเพิ่มมากขึ้นแต่สำหรับในจังหวัดนครพนมยังไม่ล้นแต่เกือบประมาณ 90% ซึ่งท่านก็ถามกระทู้ก็ถูกต้องนะครับแต่เราก็พยามนะครับที่จะแก้ไขโดยเพิ่มเปิดโรงพยาบาลบาลมินิธัญญาลักษณ์เพิ่มอีกหนึ่งแห่งในอำเภอเรณูนคร จ.นครพนม จะเพิ่มเปลี่ยนขึ้นมาอีก 8 เตียง
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องของการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่เป็นรูปธรรม ในปีงบประมาณที่แล้วรัฐบาลได้ใช้มาตรการในการจัดการเกี่ยวกับเรื่องของการยึดทรัพย์ ซึ่งตนเป็นคนเสนอในคณะกรรมการปปส.ในสมัยนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกฯ แต่ยังตั้งตัวชี้วัดไว้น้อย คือในภาคหนึ่งตั้งเป้าไว้แค่ 50 คดี ใน 50 คดี นี้เป็นคดีที่ดำเนินการแล้วมีผลเกี่ยวกับเรื่องของการยึดทรัพย์ ถ้าหากว่าเราได้ดำเนินการตัวชี้วัดในการดำเนินการอย่างเต็มที่แล้วจะเห็นผลและตนก็มั่นใจว่าเตียงที่ไม่พอกับการบำบัดที่ท่านถามจะหมดไป เพราะว่าถ้าเราคิดแต่ เรื่องบำบัดมันเป็นปลายน้ำ ถ้าเราไม่ทำต้นน้ำ ปัญหาของก็จะรุมเร้ามากขึ้น ใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด
“ในปีงบประมาณ 67 นับตั้งแต่ 1 ต.ค.66 ถึง 31 ส.ค.67 ตัวชี้วัดตั้งไว้แค่ 600 คดี แต่ดำเนินการไปได้สบาย 2000 กว่าคดี โดยนายกฯ รับแนวทางการยึดทรัพย์แบบ แวลูเบส ถ้าเราเอาแนวทางนี้มานำหน้า ตนเสนอให้เพิ่มตัวชี้วัดออกไปเป็นจังหวัดละ 50 คดี ซึ่งก็น้อยมาเดิมเดียวก็เอาภาคละ 50 เป็นภาค 500 คดี รวม 6000 คดีต่อปี เตียงที่เราบอกว่ามันจะไม่พอแล้วเนี่ยมันจะเหลือทันทีเลยเพราะว่าไม่มีคนขายคนขายแต่ละคนจะถูกยึดทรัพย์ ยามันก็จะลดลงมา การตั้งตัวชี้วัดไว้ 6,000 คดีต่อปี ตนว่าไม่เกิน 3 ปี เราไม่จำเป็นที่จะต้องใช้พื้นที่ในเรื่องของการบำบัดให้มันเหนื่อย ส่วนรายย่อยนำมาบำบัดฟื้นฟู สืบสวนถึงรายใหญ่กับเขา มันจะจบเรื่องปัญหายาเสพติดจะหมดไปได้โดยวิธีการและแนวทางของรัฐบาลที่ทำได้ผล” นายสมศักดิ์กล่าว
ขณะที่นายวันมูหะมัดนอร์ ยังได้ร่วมอภิปรายว่า เห็นใจนายสมศักดิ์ ท่านเป็นปลายน้ำไป ถ้าต้นน้ำไม่ลดลง ส่งมาเรื่อยๆ ท่านทำเท่าไรก็ไม่พอ ทุกหน่วยงานต้องบูรณาการ ถ้าเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติ ปปส.ไม่เพียงพอ พระเอกต้องตำรวจมหาดไทยกระทรวงยุติธรรม รวมทั้งเห็นว่าการยึดทรัพย์เป็นแนวทางที่ทำให้ยาเสพติดลดลง และเสนอให้มีการตั้งเคพีไอ 6 เดือน
“เมื่อน้ำลดแล้วต้องเอายาเสพติดลดให้ได้ อันนี้ก็ต้องฝากกัน เห็นนายกฯว่าเอาจริงเอาจังแล้วผมอยากให้ว่ามีการกำหนดเวลา 6 เดือน ไม่ต้องให้ สส.มาบ่นอีกเพราะเราได้ร่วมมือ ผมอยากให้ทุกภาคส่วนบูรณาการร่วมกัน เพราะเป็นทุกข์ของชาวบ้าน เรื่องยาบ้าไม่มีลูกหลานติดก็ไม่รู้ พอติดเริ่มเป็นทุกข์เท่ากับตกนรกทั้งเป็น ดังนั้นขอให้ทำสำเร็จในรัฐบาลนี้” นายวันนอร์มูหะมัดนอร์กล่าว
ภายหลังนายวันมูหะมัดนอร์กล่าวจบ สส.ได้ปรบมือให้ และเป็นครั้งแรกที่ประธานสภาฯ ได้ร่วมสะท้อนปัญหายาเสพติด
นอกจากนี้ นายสมศักดิ์ ยังได้ตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะของสส.เชียงใหม่ พรรคประชาชน ที่ตั้งกระทู้เรื่อง การก่อสร้างโรงพยาบาลหางดง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ แห่งใหม่ และการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนักอย่างไร หากโรงพยาบาลหางดงไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ของบประมาณในการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก วินิจฉัยและบำบัด 5 ชั้น วงเงินกว่า 317 ล้านบาท ในปีงบประมาณนี้แล้ว แต่ไม่ได้รับการจัดสรร ซึ่งในปีงบประมาณ 2569 ก็จะขอให้ต่อไป ส่วนกรณีเตียงไม่เพียงพอ มีการส่งต่อตามนโยบายเขตสุขภาพที่ 1 โดยจากรพ.หางดง ส่งต่อไปยัง รพ.นครพิงค์ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ รพ.ประสาทเชียงใหม่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ถ้าสร้างโรงพยาบาลตามใจโรค สร้างเท่าไรก็ไม่เพียงพอ เราต้องเบรกให้มีจำนวนผู้ป่วยลดลง ดังนั้นตนจึงมีนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในปีงบประมาณนี้ที่จะทำเรื่องลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCD ที่จะให้ อสม.กว่า 1 ล้านคน เป็นแกนนำหลักที่จะเข้าไปให้ความรู้ประชาขน เรื่องการบริโภคอาหาร การดูแลสุขภาพ เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยลง