อธิบดีกรมการแพทย์ ยันเตียง-ยาเวชภัณฑ์มีเพียงพอในการรองรับการระบาด สายพันธุ์โอมิครอน

อธิบดีกรมการแพทย์ ยันเตียง-ยาเวชภัณฑ์มีเพียงพอในการรองรับการระบาด สายพันธุ์โอมิครอน กังวลเด็กอาจติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากยังไม่ได้รับวัคซีน

ที่กรมการแพทย์ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ยืนยันเตียงรักษาผู้ป่วยโควิด-19 มีเพียงพอ สามารถรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศได้วันละ 50,000 ราย ซึ่งสูงกว่าที่กรมควบคุมโรคเคยคาดการณ์ไทยจะมีผู้ติดเชื้อสูงถึง 30,000ราย หลังปีใหม่

โดยข้อมูลสถานการณ์เตียงกรุงเทพฯและปริมณฑลวันที่ 4 มกราคม รวมทุกประเภท เตียงไอซียู ห้องความดันลบ เตียงทั้งหมด 232 เตียง ครองเตียง 65เตียง เตียงว่าง 167 เตียง อัตราของเตียงคิดเป็น ร้อยละ28 ห้องดัดแปลงความดันลบ เตียงทั้งหมด 1184 เตียง ครองเตียง 456 เตียง  เตียงว่าง 728เตียง  อัตราครองเตียง คิดเป็น ร้อยละ 38.5 ห้องไอซียูรวม เตียงทั้งหมด 470 เตียง ครองเตียง 30 เตียง  เตียงว่าง 440 เตียง อัตราครองเตียง คิดเป็น ร้อยละ 6.4  ห้องแยกโรค  เตียงทั้งหมด 3,964 เตียง ครองเตียง 929เตียง  เตียงว่าง 3,035 เตียง  อัตราครองเตียง คิดเป็น ร้อยละ23.4 ห้องสามัญ เตียงทั้งหมด 8,223 เตียง ครองเตียง 1,952 เตียง  เตียงว่าง 6,271 เตียง อัตราครองเตียง คิดเป็น ร้อยละ23.7 ฮอสพิเทล เตียงทั้งหมด 16,084 เตียง ครองเตียง 2,278 เตียง เตียงว่าง เหลือ 13,806 เตียง  อัตราครองเตียง คิดเป็น ร้อยละร้อยละ14.2 เตียงสนาม มีเตียงทั้งหมด 1,544เตียง ครองเตียง 163 เตียง เตียงว่าง 1,381 เตียง อัตราครองเตียง คิดเป็น ร้อยละ 10.6 ทำให้ภาพรวมการครองเตียงผู้ป่วยโควิด ในกรุงเทพฯและปริมณฑลอยู่ที่ร้อยละ 18.5

ขณะที่ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร มีเตียงทั้งหมด 2,712 เตียง โดยมีอัตราครองเตียง 268 เตียง ทำให้มีเตียงว่างอีก2,444 เตียง ซึ่งศักยภาพของกรุงเทพมหานครสามารถรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ได้ถึง 8,000 รายต่อวัน

ส่วนความพร้อมเตียงที่รองรับผู้ป่วยอาการรุนแรง มีเตียง 11,000 เตียง เป็นอาการป่วยระดับ 2 มี 6,000 เตียง ระดับ 3 มี 5,000 เตียง ซึ่งยืนยันว่า หน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์และหน่วยบริการสถานพยาบาลอื่นๆ มีเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด-19 เพียงพอในขณะนี้

นอกจากนี้ได้มีการหารือและสั่งการในพื้นที่ต่างจังหวัดเตรียมระบบ Home Isolation และ Community Isolation ในการรองรับผู้ป่วยกลุ่มไม่มีอาการ เนื่องจากตามข้อมูลผู้ติดเชื้อโอมิครอน 100 รายแรกในประเทศไทย พบเป็นผู้ป่วยไม่มีอาการ ร้อยละ 48  มีอาการเล็กน้อยร้อยละ 41 และอยู่ระหว่างสังเกตอาการ ร้อยละ 11

โดยจำนวนผู้ป่วยโอมิครอนที่ทีอาการ พบว่า ร้อยละ 54 จะมีอาการไอ ร้อยละ 37 เจ็บคอ  ร้อยละ 29 มีไข้ ร้อยละ 15 มีอาการป่วยกล้ามเนื้อ ร้อยละ 12 มีอาการน้ำมูก ร้อยละ 10 ปวดศีรษะและร้อยละ 5 มีอาการหายใจลำบาก

ซึ่งอาการทั้งหมดคล้ายกับไข้หวัดจึงแนะนำประชนหากมีอาการดังกล่าวอย่างใด อย่างหนึ่ง ให้ตรวจหาเชื้อด้วย ATK และหากพบผลตรวจATK เป็นบวก สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถโทรประสาน สายด่วน สปสช. เบอร์ 1330 ในการประเมินและคัดกรองอาการเพื่อเข้าสู่ระบบการรักษา โดยทาง สปสช.จะประสานงานกลับหาผู้ป่วยไม่เกิน 6 ชั่วโมง แต่หากมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงให้โทรหาสายด่วน 1669

ส่วนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในต่างจังหวัด นพ.สมศักดิ์ ระบุว่า กระทรวงสาธารณสุขได้จัดเตรียมสายด่วนในแต่ละจังหวัด เพื่อการประสานรับผู้ป่วยจากการตรวจคัดกรองด้วยตนเอง

นพ.สมศักดิ์ ยังกังวลว่า การระบาดโควิดรอบนี้ อาจจะพบเด็กเล็กติดเชื้อโควิดสูงขึ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งล่าสุด ได้ประสานกรุงเทพมหานคร ขอให้มีการจัดตั้ง Community Isolation ในทุกเขต อย่างน้อยเขตละ 1 แห่ง ซึ่งเตรียมเตียงไว้ 50 เตียงต่อแห่ง และต้องมีพื้นที่ลานโล่ง สำหรับกิจกรรมของเด็กตามช่วงวัย

ส่วนการรักษาโควิดในเด็กเล็ก กรมการแพทย์ได้สั่งการทุกโรงพยาบาลเตรียมยาน้ำฟาวิพิราเวียร์ ไว้รักษากลุ่มเด็กโดยเฉพาะ ตอนนี้ทุกโรงพยาบาลสามารถผลิตเองได้แล้ว

ทั้งนี้ กรมการแพทย์ได้มีการหารือกับกทม.เตรียม Community Isolation รองรับแรงงานต่างด้าวที่ติดเชื้อโควิด โดยกำหนดให้ 1 เขต มี 1 แห่ง ประมาณ 100 เตียง

ส่วนแนวทางการรักษาโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน นพ.สมศักดิ์ ยืนยัน ใช้การรักษา เหมือนกับโควิดสายพันธุ์อื่นที่ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์เป็นหลัก ส่วนความคืบหน้ายาในการรักษาผู้ป่วย โควิด-19 ยังคงให้ยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ ขณะที่โมนูลพิราเวียร์ ความคืบหน้าล่าสุด ทางบริษัทเตรียมที่จะส่งให้กับไทยแล้ว แต่อยู่ระหว่าง ยื่นเอกสารข้อมูลเพิ่มเติมกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งคาดว่าไม่น่ามีปัญหา

ส่วนยาแพ๊กซ์โลวิด อยู่ระหว่างดำเนินการเรื่องเอกสาร คาดว่า จะได้ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือช่วงเดือนมีนาคม

อย่างไรก็ตามปี 2565 กระทรวงสาธารณสุข ตั้งเป้าว่า หากไวรัสโควิด-19 ไม่มีการกลายพันธุ์ของเชื้อที่แรงๆ ก็อาจจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นได้

แสดงความเห็น